สินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป ให้บ้านในฝันกลายเป็นจริงได้ ด้วยทางเลือกหลากหลาย กับอัตราดอกเบี้ยที่ลงตัวเพื่อคุณ
วงเงินสูง
สูงสุด 70-95% ของมูลค่าหลักประกัน หากราคาซื้อขายสูงเกินกว่า 10 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 80% ของมูลค่าหลักประกัน วงเงินกู้เพิ่มเติมจากวงเงินสูงสุดเพื่อซื้อประกันชีวิตคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ และประกันอัคคีภัยระยะยาว
ผ่อนสบาย
นานสูงสุด 30 ปี(เฉพาะพนักงานประจำ สูงสุด 35 ปี) รวมอายุผู้กู้สูงสุด 65 ปี สามารถเลือกผ่อนชำระได้ทั้งแบบขั้นบันได หรือแบบคงที่
หลักประกัน
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย หลักประกันประเภทที่ดินเปล่า/สิทธิการเช่า
ค่าธรรมเนียม
คิดค่าธรรมเนียมประเมินหลักประกัน 3,000 บาท (ไม่รวม VAT) ยกเว้นค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อ
รายละเอียดสินเชื่อ สินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป
คุณสมบัติผู้กู้
- ป็นบุคคลธรรมดามีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป
- มีรายได้ประจำ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ซึ่งต้องแสดงหลักฐานรายได้ที่ชัดเจน ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- มีประวัติทางการเงินที่ดีในข้อมูลของบริษัทเครดิตบูโร
วิธีการสมัคร
หากคุณสนใจใช้สินเชื่อบ้านบัวหลวง สามารถตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นและสมัครออนไลน์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงกรอกข้อมูลเบื้องต้นในแบบฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์นี้ หรือพบผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อ ณ สาขาธนาคารกรุงเทพ ที่พร้อมให้คำแนะนำ และช่วยคุณเลือกสินเชื่อที่ตรงกับความต้องการ
อัตราดอกเบี้ย
เอกสารแสดงผลิตภัณฑ์ สินเชื่อบ้านสำหรับลูกค้าทั่วไป
4 เรื่องต้องรู้ ก่อนขอสินเชื่อ
เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ
เตรียมความพร้อมก่อนสมัครสินเชื่อบ้านบัวหลวง โดยศึกษาเกณฑ์ในการอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าการสมัครสินเชื่อของคุณจะราบรื่นไร้ปัญหา
- ผู้สมัครสินเชื่อต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 30 ปี (เฉพาะพนักงานประจำ
สูงสุด 35 ปี) ทั้งนี้เมื่อนำอายุของผู้สมัครรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระหนี้แล้วจะต้องไม่เกิน 65 ปี - คุณจะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุดประมาณ 80-90% ของราคาประเมิน หรือ 100% ของยอดสินเชื่อที่เหลือหากเป็นกรณีทำ รีไฟแนนซ์
ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อ
- ยื่นคำขอสินเชื่อที่สาขาธนาคาร
คุณสามารถยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบได้ที่สาขาธนาคารที่คุณสะดวก เจ้าหน้าที่จะพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นจากข้อมูลของคุณ เช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่นๆ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระคืนเงินกู้ของคุณ - ส่งใบคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบเพื่อรอการพิจารณาอนุมัติ
เจ้าหน้าที่สาขาจะส่งใบคำขอสินเชื่อของคุณพร้อมเอกสารประกอบคำขอสินเชื่อไปที่ศูนย์สินเชื่ออุปโภคบริโภค เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยพิจารณาจาก- วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ
- คุณสมบัติผู้ขอกู้
- ประวัติทางการเงิน
- ความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อ
- ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน
เจ้าหน้าที่ส่วนประเมินหลักทรัพย์จะติดต่อคุณเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินมูลค่าหลักประกัน ตามวันและเวลาที่คุณสะดวก ภายใน 7 วันทำการ หลังจากที่คุณได้ยื่นใบคำขอสินเชื่อแล้ว
- แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
ธนาคารจะติดต่อและแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้คุณทราบภายใน 3-10 วันทำการ นับจากวันที่คุณยื่นใบคำขอสินเชื่อ เพื่อเตรียมนัดวันทำนิติกรรมสัญญาและจำนอง
- ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจดจำนอง
หากคุณได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดหมายคุณเพื่อทำสัญญากู้เงิน สัญญาจดจำนอง ณ สำนักงานที่ดินในเขตท้องที่ที่โฉนดที่ดิน หรือหลักประกันจดทะเบียนไว้ กรณีมีผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน ผู้กู้และผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องร่วมลงนามในสัญญาทุกฉบับ คุณควรเตรียมค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมโอน ค่าธรรมเนียมจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์มาในวันทำสัญญา โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งในวันที่นัดหมาย
เอกสารประกอบการสมัครสินเชื่อ
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ กรุณาเตรียมเอกสารที่จำเป็นในการขอสินเชื่อให้ครบถ้วน
เอกสารสำหรับผู้กู้ทุกประเภท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (กรณีประกอบวิชาชีพเฉพาะ)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ทุกใบ)
เอกสารแสดงรายได้ กรณีผู้กู้/ผู้กู้ร่วมเป็นพนักงานหรือข้าราชการ
- ต้นฉบับหนังสือรับรองเงินเดือน (ไม่เกิน 3 เดือน)
- ต้นฉบับสลิปเงินเดือนล่าสุด และสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงินเดือน
- สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี (กรณีรับเงินเดือนเป็นเงินสด)
เอกสารแสดงรายได้ กรณีผู้กู้/ผู้กู้ร่วมเป็นเจ้าของกิจการ
- สำเนาเอกสารการจดทะเบียนบริษัท (ทะเบียนพาณิชย์/การค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล/ทะเบียนผู้ถือหุ้น) (ไม่เกิน 3 เดือน)
- สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่เกิน 3 เดือน)
- สำเนาบัญชีธนาคารที่แสดงกระแสการเงินของบริษัท เช่น บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน วงเงินเบิกเกินบัญชี เป็นต้น ย้อนหลัง 6 เดือน
- งบการเงินปีล่าสุด หรือสำเนารายการแสดงภาษีเงินได้ประจำปี ปีล่าสุด
เอกสารหลักประกันในการขอสินเชื่อ
- สำเนาโฉนดที่ดิน/สำเนาเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุด
- สำเนาเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย
- เอกสารหลักฐานการชำระเงินดาวน์
- แผนที่แสดงที่ตั้งหลักประกัน
เอกสารหลักประกันในการขอสินเชื่อ (เพิ่มเติมกรณีปลูกสร้าง/ต่อเติม/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย)
- สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ปรับปรุงอาคาร
- สำเนาพิมพ์เขียว (แบบแปลนก่อสร้าง)
- สำเนาสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้ขอสินเชื่อ
เอกสารหลักประกันในการขอสินเชื่อ (เพิ่มเติมกรณีรีไฟแนนซ์)
- สำเนาสัญญาจำนอง และข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง
- สำเนาสัญญากู้เงิน
- สำเนาใบเสร็จการผ่อนชำระหนี้ย้อนหลัง 3 เดือน
เอกสารแสดงฐานะทางการเงินและภาระหนี้สิน
- สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่นๆ เช่น โฉนดที่ดิน ห้องชุด พันธบัตร ใบหุ้น เอกสารสัญญาแสดงสิทธิการเช่า ฯลฯ
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน/สัญญาเช่าซื้อ/สัญญาจำนอง และเอกสารหลักฐานการชำระหนี้ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อ
สินเชื่อบ้านบัวหลวง | สินเชื่อ
บัวหลวง พูนผล |
สินเชื่อ
บัวหลวง สานฝัน |
|||||
สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยทุกประเภท | สินเชื่อเพื่อปลูกสร้าง/ ต่อเติม/ตกแต่ง/ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย | สินเชื่อเพื่อ
รีไฟแนนซ์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย |
สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน
จัดสรรในโครงการที่ธนาคาร ให้การสนับสนุน (Post Finance) |
สินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารกรุงเทพสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย | |||
ค่าธรรมเนียม
ประเมินหลัก ประกัน |
3,000 บาท (ไม่รวม VAT) | แล้วแต่โครงการ | ยกเว้นค่าประเมินหลักประกัน | 3,000 บาท (ไม่รวม VAT) | 3,000 บาท (ไม่รวม VAT) | ||
กรณีชำระ
หมดก่อน 3 ปี (รีไฟแนนซ์) |
หากชำระหมดก่อน 3 ปี คิดค่าปรับ 3% ของภาระหนี้คงค้าง |
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ผู้ซื้อบ้านควรเตรียมค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อบ้าน
- เงินมัดจำที่จะชำระในวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย
- เงินดาวน์
- ค่านายหน้า (ถ้ามี)
- ค่าใช้จ่ายในการขนย้าย
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ทนายความต้องชำระเพื่อดำเนินการแทน (เช่น ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานจากสำนักงานที่ดิน หรือกระทรวงพาณิชย์ ค่าจดทะเบียน ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น)
- ค่าใช้จ่ายสำหรับธนาคาร
- ค่าอากรแสตมป์
- ค่าธรรมเนียมในการประเมินหลักประกัน
- ค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน
- ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน
- ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของมูลจำนอง
- เบี้ยประกันภัย
- เบี้ยประกันอัคคีภัย
- เบี้ยประกันคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ (บริษัทประกันจะรับภาระสินเชื่อแทนในกรณีผู้ซื้อเสียชีวิตหรือทุพลภาพ)